กฎหมายทะเบียนราษฎร
กฎหมาย เกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน โดยได้กำหนดไว้ว่าเมื่อมีคนเกิดในบ้านเจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้อง ที่ภายในเวลา 15 วันนับแต่ วันเกิด เมื่อมีคนตายเจ้าบ้าจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย เมื่อบุคคลย้ายออกจากบ้านหรือย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 15 วัน
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร
1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนด ให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้าน เมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคระบาด เป็นต้น
2. คนเกิด
2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้
1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดใน บ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรง พยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนาย ทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด
2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่ วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท
3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว
2.1 สถานที่แจ้งเกิด
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มี ชีวิตอยู่
3. คนตาย
3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้
1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย
3.2 สถานที่แจ้งตาย
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนิน การแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐาน มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
4. การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจาก ทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับ แจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดัง กล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ด้วย
5. การขอแก้ทะเบียนราษฎร
ในกรณีที่ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรของบุคคลไม่ตรงกับหลักฐานที่มี อยู่ ให้ไปติดต่ออำเภอหรือเทศบาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ในการติดต่อทางราชการ เพื่อการนี้ควรนำหลักฐานเอกสารของทางราชการที่มีอยู่ไปแสดง เช่น
1.สูติบัตร มรณบัตร
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบสำคัญทางทหาร
4.เอกสารการสมรา การหย่า
5.สำเนาทะเบียนบ้าน
6.ใบสุทธิ
7.หลักฐานเกี่ยวกับสัญชาติ
8.หนังสือเดินทางมาหรือไปต่างประเทศ
9.หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี
สรุปสาระสำคัญ
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดใน บ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้อง ที่ที่มีคนตายภายใน เวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลา ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า
กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร
1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนด ให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้าน เมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคระบาด เป็นต้น
2. คนเกิด
2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้
1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดใน บ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรง พยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนาย ทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด
2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่ วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท
3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว
2.1 สถานที่แจ้งเกิด
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มี ชีวิตอยู่
3. คนตาย
3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้
1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย
3.2 สถานที่แจ้งตาย
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนิน การแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐาน มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
4. การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจาก ทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับ แจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดัง กล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ด้วย
5. การขอแก้ทะเบียนราษฎร
ในกรณีที่ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรของบุคคลไม่ตรงกับหลักฐานที่มี อยู่ ให้ไปติดต่ออำเภอหรือเทศบาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ในการติดต่อทางราชการ เพื่อการนี้ควรนำหลักฐานเอกสารของทางราชการที่มีอยู่ไปแสดง เช่น
1.สูติบัตร มรณบัตร
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบสำคัญทางทหาร
4.เอกสารการสมรา การหย่า
5.สำเนาทะเบียนบ้าน
6.ใบสุทธิ
7.หลักฐานเกี่ยวกับสัญชาติ
8.หนังสือเดินทางมาหรือไปต่างประเทศ
9.หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี
สรุปสาระสำคัญ
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดใน บ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้อง ที่ที่มีคนตายภายใน เวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลา ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า
กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
การเกณฑ์ทหารในประเทศไทยใน ปัจจุบัน อาศัยความตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดให้ชายไทยทุกคนมีหน้าที่ต้องเข้ารับ ราชการทหาร และยังเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย ขั้นตอนการเกณฑ์ทหารเริ่มต้นจากการลงบัญชีทหารกองเกินของชายไทยไว้ก่อน และจะมีการเรียกผู้ที่ลงบัญชีไว้มาตรวจเลือกเอาคนที่ทางทหารเห็นว่าเหมาะสม ไปตามจำนวนที่ต้องการเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการชายไทยจำนวนมากไม่ ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารเพราะผ่านการเรียนรักษาดินแดนครบสามปี ส่วนผู้ที่ไม่ได้เรียนรักษาดินแดนหรือเรียนไม่ครบตามกำหนดหลักสูตรและไม่มี ข้อยกเว้นอย่างอื่นต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือก ผู้ที่ศึกษาอยู่ หรือ ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ และผู้ที่กฎหมายเห็นว่ามีเหตุอันสมควร จะสามารถไม่ต้องไปรับการตรวจเลือก หรือ ไปรับการตรวจเลือกแต่ได้รับการผ่อนผันและแต่กรณีซึ่งมักเป็นรายละเอียดปลีก ย่อยที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 50 ปีของการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ในปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายทหารมีความซับซ้อนและมีกฎกระทรวงจำนวนมากออกมาแก้ไขกฎ กระทรวงเก่าหรือยกเลิกกฎกระทรวงเก่าเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่เข้าใจขั้นตอนการ เกณฑ์ทหารหลงเชื่อมิจฉาชีพซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหารหรือฝ่ายปกครอง เองยอมจ่ายสินบนเพื่อเป็นการตอบแทนในการช่วยให้พ้นจากการรับราชการทหาร
1 การลงบัญชีทหารกองเกินและการรับหมายเรียก2 การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ3 การเข้า รับราชการกองประจำการ4 การยกเว้น การไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก และการผ่อนผัน5 กรณีการ เกณฑ์ทหารของบุคคลสำคัญ6 การหลีกเลี่ยงเข้ารับ ราชการทหาร7 อ้างอิง8 ดู เพิ่ม
การลงบัญชีทหารกองเกินและการรับ หมายเรียก
ใบสำคัญ สด. ๙ แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นทหารชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี บริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น [1] ที่อำเภอท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่โดยจะได้รับใบสำคัญ สด. ๙ เมื่อลงบัญชี ณ อำเภอใดแล้ว อำเภอนั้นจะเป็นภูมิลำเนาทหารของทหารกองเกินผู้นั้น ภูมิลำเนาทหารเป็นภูมิลำเนาเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้านหรือสำมะโนครัว การจะย้ายภูมิลำเนาทหารต้องกระทำที่อำเภอแยกต่างหากจากการย้ายภูมิลำเนาตาม ทะเบียนราษฎร์ ทหารกองเกินที่ย้ายทะเบียนราษฎร์จะย้ายภูมิลำเนาทหารด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน้าที่แจ้งต่อนายอำเภอทุกครั้งที่ไปอยู่ต่างถิ่งเป็นเวลาเกินกว่า 30 วัน หากไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท ภูมิลำเนาทหารมีความสำคัญต่อทหารกองเกินอย่างมากเพราะเป็นสถานที่ที่ทหารกอง เกินต้องไปรับการตรวจเลือก ในแต่ละท้องที่ก็มีจำนวนทหารกองเกินและความต้องการของฝ่ายทหารที่กำหนดมา ต่างกัน การอยู่ในภูมิลำเนาทหารที่ต่างกันจึงมีผลต่อการตรวจเลือกเข้ารับกองประจำการ และเป็นช่องทางให้มีผู้หลีกเลี่ยงการเป็นทหารใช้หลบเลี่ยงไปได้ทหารกองเกิน เมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายในพุทธศักราชนั้น โดยจะได้รับหมายเรียก สด. ๓๕ ทหารกองเกินซึ่งจะถูกเรียกมาตรวจคัดเลือก เพื่อเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการนั้น ต้องมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ขึ้นบัญชีทหารกองเกินหรือไม่มารับหมายเรียกต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าก่อนที่เจ้าหน้าที่ยกเรื่องขึ้นพิจารณาความผิด ผู้นั้นได้มาขอลงบัญชีทหารกองเกิน หรือ มารับหมายเรียกแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จหลักสูตรชั้นปีที่ 3 แล้ว ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ ได้รับหนังสือสำคัญ สด. ๘ พร้อมกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุน ทั้งนี้เนื่องจากมิได้มีสถานะทหารกองเกินแล้วจึงไม่ต้องรับหมายเรียกและไม่ ต้องไปรับการตรวจเลือก แต่อาจถูกเรียกพลในฐานะทหารกองหนุนได้ ซึ่งการเรียกพลนี้มิได้เรียกทุกคน
การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ
ทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกต้องมาให้ คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามกำหนดหมายนั้น ในวันตรวจเลือกนั้นนอกจากหลักฐานทางทหารและบัตรประจำตัวประชาชนแล้วให้นำ หลักฐานการศึกษามาแสดงด้วยผู้ใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจ เลือกทำการตรวจเลือกหรือมาแต่ไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จเพื่อรับ หลักฐานใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด. ๔๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ผู้กระทำความผิดตามข้อนี้นี่เองที่มักเรียกกันว่า หนีทหาร
ผู้มาเข้ารับการตรวจเลือก หากไม่สามารถใช้สิทธิ์ผ่อนผัน จะถูกกรรมการตรวจเลือกแบ่งออกเป็น 4 จำพวก ได้แก่
1.คนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี
2.ไม่สมบูรณ์ดีแต่ไม่ถึงกับ ทุพพลภาพ
3.คนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะรับ ราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วยและไม่สามารถรักษาให้หายได้ใน 30 วัน
4.พิการ ทุพพลภาพ หรือ มีโรคที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้
ตามกฎกระทรวงดังกล่าวบุคคลที่จะ รับราชการทหารได้ต้องมีขนาดรอบตัว 76 เซนติเมตรขึ้น ไปเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่ 146 เซนติเมตรขึ้นไป แต่ทางทหารจะได้ประกาศอีกครั้งในแต่ละปี ว่าจะคัดบุคคลที่มีขนาดใดขึ้นไป ซึ่งมักจะสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ในช่วงระยะเวลานั้นชายไทยที่อยู่ในอายุเกณฑ์ทหารอาจยังมิ ได้มีขนาดร่างกาย เช่นในปัจจุบัน
วิธีการคัดเลือกจะเลือกจากคนจำพวก ที่ 1 ก่อน หากคนจำพวกที่ 1 ไม่พอให้เลือกจากคน จำพวกที่ 2 ด้วย หากคนจำพวกที่ 2 ไม่พอให้นำคนที่ผ่อนผันอยู่มาคัดเลือกด้วยตามขั้นตอนข้างต้น (แบ่งเป็น 4) จำพวก หากมีคนเกินกว่าจำนวนที่ทางทหารต้องการให้จับสลาก โดยแบ่งออกเป็บใบดำและใบแดงซึ่งเขียนแผนกของกองประจำการไว้ เป็นที่มาของการจับใบดำใบแดง ผู้จับได้ใบแดงต้องเข้ารับราชการทหารในกองประจำการ โดยจะได้หมายนัดเข้ารับราชการทหาร (สด. ๔๐)คนจำพวกที่ 3 และ 4 ในการตรวจเลือกจะไม่ถูกส่งตัวเข้า กองประจำการ คนจำพวกที่ 3 ให้มาตรวจเลือกในคราวถัด ไป เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกแล้วยังเป็นคนจำพวกที่ 3 อยู่ 3 ครั้งให้งดเรียก คนจำพวกที่ 3 เมื่อมาตรวจเลือกจะได้ใบสำคัญสำหรับคนจำพวกที่ 3 (สด. ๔) ส่วนคนจำพวกที่ 4 ได้รับใบสำคัญ สำหรับคนจำพวกที่ 4 (สด. ๕)บุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ์ผ่อนผัน ผ่านการตรวจเลือกแล้ว และผลการตรวจเลือกถึงที่สุดแล้วไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการไม่ต้องรับ หมายเรียกและไม่ต้องมาตรวจเลือกอีกในปีต่อไป ส่วนผู้ที่ผ่อนผันอยู่ต้องมาตรวจเลือกทุกปีจนกว่าอายุจะครบ 30 ปีใบรับรองผลการตรวจเลือก สด. ๔๓ ทุกคนต้องได้รับในวันตรวจเลือกจากกรรมการตรวจเลือกเท่านั้น หากได้รับในวันอื่นหรือจากบุคคลอื่นให้สันนิษฐานว่าเป็นของปลอม ผู้นำไปใช้มีความผิดตามกฎหมาย และถือว่าผู้นั้นไม่ได้มาเข้ารับการตรวจเลือกอย่างถูกต้อง
การยกเว้น การไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก และการผ่อนผัน
มีบุคคลบางจำพวกที่ไม่ต้องเข้ารับ ราชการทหารกองประจำการในยามปกติสามประเภท ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการยกเว้น และบุคคลที่ไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก สองประเภทนี้ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกเลย ส่วนบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันต้องเข้ารับการตรวจเลือกทุกปี
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการ ได้แก่
(1) พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์
(2) คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้
(3) บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกรับราชการทหารกองประจำการใน ยามปกติ ได้แก่
(1) พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(2) นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่ กำหนดในกฎกระทรวงและ ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(3) บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่ กระทรวงกลาโหมกำหนดตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร
(4) นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม
(5) ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(6) นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวง ศึกษาธิการ
(7) นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม
บุคคลที่ไม่เข้ารับการตรวจเลือกก็ ไม่ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนการตรวจเลือกได้แก่
(1) ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดย ปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการ อันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง
(2) นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(3) ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม
(4) บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม
(5) เกิดเหตุสุดวิสัย
(6) ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น
(7) ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกใน วันตรวจเลือก
กรณีตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องได้รับการผ่อนผันเฉพาะคราวจากรัฐมนตรีว่ากระทรวง มหาดไทย หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
บุคคลที่ได้รับการผ่อนผัน ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก ถ้ามีจำนวนทหารกองเกินที่จะรับราชการเป็นทหารกองประจำการได้มากกว่าจำนวนที่ ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันแก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความ สามารถ หรือพิการทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกัน คงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณา ผ่อนผันให้หนึ่งคน
(2) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่หรือน้องนั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
(3) บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้อ้างสิทธิตาม (1) หรือ (2) แห่งมาตรานี้ ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกเข้ากองประจำการไม่ น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีพิเศษซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ร้องและผู้ร้องต้องร้องต่อคณะ กรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกตามมาตรา 30 อีก ครั้งหนึ่ง นายอำเภอต้องสอบสวนหลักฐานไว้เสียก่อนวันตรวจเลือก เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้ตัดสินได้ทันที การขอผ่อนผันตาม (3) ให้แจ้งผ่านทางสถานศึกษา
ถ้าไม่สามารถจะผ่อนผันพร้อมกัน ทั้งสามประเภทได้ เพราะจะทำให้คนไม่พอจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันคนประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 รวมกันก่อน ถ้าคนยังเหลือจึงผ่อนผันคนประเภทที่ 3 ถ้าจำนวนคนใน ประเภทใดจะผ่อนผันไม่ได้ทั้งหมดต้องให้คนประเภทนั้นจับสลาก
การหลีกเลี่ยงเข้ารับราชการทหาร
แม้ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่มีขบวนการทำการสนับสนุนให้ผู้ทหารกองเกินหลบเลี่ยงการรับราชการทหารกัน อย่างแพร่หลาย โดยสัสดีอำเภอเป็นตัวการสำคัญ โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
1.การปลอมใบรับรองผลการตรวจเลือก สด. ๔๓
2.การให้ระบุในใบตรวจร่างกายว่า เป็น มีความผิดปกติทางร่างกาย (ดี 1 ประเภท 2) จึงไม่ต้องไปจับใบดำใบแดง
3.การย้ายสำมะโนครัวและภูมิลำเนา ทหาร ไปยังอำเภอที่มีคนสมัครเป็นทหารเต็มแล้ว
สำหรับวิธีการตามข้อ 1 นั้น จะไม่ปรากฏต้นขั้วที่กระทรวงกลามโหม เมื่อมีการตรวจสอบก็จะพบว่าบุคคลนั้นหนีทหารและถูกดำเนินคดีได้ ส่วนวิธีการในข้อ 2-3 เป็นการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และข้อมูลภายในที่สัสดีมีอยู่ ผู้ผ่านการตรวจเลือกจะได้รับใบตรวจเลือกของจริง ถูกต้องตามกฎหมาย ตามข่าวที่ปรากฏในปี พ.ศ. 2547[19]พบว่าสัสดีเรียก รับเงินจากผู้ไม่ต้องการรับราชการทหารเป็นหลักพัน บาทสำหรับวิธีการในข้อ 1 และหลักหมื่นบาทสำหรับวิธีการในข้อ 2-3
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่หลบหนีไม่ เข้ารับการตรวจเลือกซึ่งมักจะถูกสัสดีแจ้งความดำเนินคดี ผู้ที่หลบหนีนัต้องรอให้พ้นจากอายุที่ต้องรับราชการทหารคือ 30 ปีและรอให้คดีความหมดอายุความก่อนจึงจะกลับมาปรากฏตัวต่อสาธารณ ชนได้ มิฉะนั้นอาจถูกจับกุมและดำเนินคดีได้ อายุความในดคีหนีทหารทั่วไปมีกำหนด 10 ปีการทำร้าย ร่างกายตัวเองหรือผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องรับราชการทหารมีระวาง โทษจำคุกหนึ่งปีถึงแปดปีเป็นโทษที่หนักที่สุดในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร และเป็นโทษเดียวในพระราชบัญญัตินี้ที่มีอายุความถึง 15 ปี
กฎหมายการศึกษา
1 การลงบัญชีทหารกองเกินและการรับหมายเรียก2 การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ3 การเข้า รับราชการกองประจำการ4 การยกเว้น การไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก และการผ่อนผัน5 กรณีการ เกณฑ์ทหารของบุคคลสำคัญ6 การหลีกเลี่ยงเข้ารับ ราชการทหาร7 อ้างอิง8 ดู เพิ่ม
การลงบัญชีทหารกองเกินและการรับ หมายเรียก
ใบสำคัญ สด. ๙ แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นทหารชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี บริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น [1] ที่อำเภอท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่โดยจะได้รับใบสำคัญ สด. ๙ เมื่อลงบัญชี ณ อำเภอใดแล้ว อำเภอนั้นจะเป็นภูมิลำเนาทหารของทหารกองเกินผู้นั้น ภูมิลำเนาทหารเป็นภูมิลำเนาเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้านหรือสำมะโนครัว การจะย้ายภูมิลำเนาทหารต้องกระทำที่อำเภอแยกต่างหากจากการย้ายภูมิลำเนาตาม ทะเบียนราษฎร์ ทหารกองเกินที่ย้ายทะเบียนราษฎร์จะย้ายภูมิลำเนาทหารด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน้าที่แจ้งต่อนายอำเภอทุกครั้งที่ไปอยู่ต่างถิ่งเป็นเวลาเกินกว่า 30 วัน หากไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท ภูมิลำเนาทหารมีความสำคัญต่อทหารกองเกินอย่างมากเพราะเป็นสถานที่ที่ทหารกอง เกินต้องไปรับการตรวจเลือก ในแต่ละท้องที่ก็มีจำนวนทหารกองเกินและความต้องการของฝ่ายทหารที่กำหนดมา ต่างกัน การอยู่ในภูมิลำเนาทหารที่ต่างกันจึงมีผลต่อการตรวจเลือกเข้ารับกองประจำการ และเป็นช่องทางให้มีผู้หลีกเลี่ยงการเป็นทหารใช้หลบเลี่ยงไปได้ทหารกองเกิน เมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายในพุทธศักราชนั้น โดยจะได้รับหมายเรียก สด. ๓๕ ทหารกองเกินซึ่งจะถูกเรียกมาตรวจคัดเลือก เพื่อเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการนั้น ต้องมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ขึ้นบัญชีทหารกองเกินหรือไม่มารับหมายเรียกต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าก่อนที่เจ้าหน้าที่ยกเรื่องขึ้นพิจารณาความผิด ผู้นั้นได้มาขอลงบัญชีทหารกองเกิน หรือ มารับหมายเรียกแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จหลักสูตรชั้นปีที่ 3 แล้ว ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ ได้รับหนังสือสำคัญ สด. ๘ พร้อมกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุน ทั้งนี้เนื่องจากมิได้มีสถานะทหารกองเกินแล้วจึงไม่ต้องรับหมายเรียกและไม่ ต้องไปรับการตรวจเลือก แต่อาจถูกเรียกพลในฐานะทหารกองหนุนได้ ซึ่งการเรียกพลนี้มิได้เรียกทุกคน
การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ
ทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกต้องมาให้ คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามกำหนดหมายนั้น ในวันตรวจเลือกนั้นนอกจากหลักฐานทางทหารและบัตรประจำตัวประชาชนแล้วให้นำ หลักฐานการศึกษามาแสดงด้วยผู้ใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจ เลือกทำการตรวจเลือกหรือมาแต่ไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จเพื่อรับ หลักฐานใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด. ๔๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ผู้กระทำความผิดตามข้อนี้นี่เองที่มักเรียกกันว่า หนีทหาร
ผู้มาเข้ารับการตรวจเลือก หากไม่สามารถใช้สิทธิ์ผ่อนผัน จะถูกกรรมการตรวจเลือกแบ่งออกเป็น 4 จำพวก ได้แก่
1.คนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี
2.ไม่สมบูรณ์ดีแต่ไม่ถึงกับ ทุพพลภาพ
3.คนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะรับ ราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วยและไม่สามารถรักษาให้หายได้ใน 30 วัน
4.พิการ ทุพพลภาพ หรือ มีโรคที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้
ตามกฎกระทรวงดังกล่าวบุคคลที่จะ รับราชการทหารได้ต้องมีขนาดรอบตัว 76 เซนติเมตรขึ้น ไปเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่ 146 เซนติเมตรขึ้นไป แต่ทางทหารจะได้ประกาศอีกครั้งในแต่ละปี ว่าจะคัดบุคคลที่มีขนาดใดขึ้นไป ซึ่งมักจะสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ในช่วงระยะเวลานั้นชายไทยที่อยู่ในอายุเกณฑ์ทหารอาจยังมิ ได้มีขนาดร่างกาย เช่นในปัจจุบัน
วิธีการคัดเลือกจะเลือกจากคนจำพวก ที่ 1 ก่อน หากคนจำพวกที่ 1 ไม่พอให้เลือกจากคน จำพวกที่ 2 ด้วย หากคนจำพวกที่ 2 ไม่พอให้นำคนที่ผ่อนผันอยู่มาคัดเลือกด้วยตามขั้นตอนข้างต้น (แบ่งเป็น 4) จำพวก หากมีคนเกินกว่าจำนวนที่ทางทหารต้องการให้จับสลาก โดยแบ่งออกเป็บใบดำและใบแดงซึ่งเขียนแผนกของกองประจำการไว้ เป็นที่มาของการจับใบดำใบแดง ผู้จับได้ใบแดงต้องเข้ารับราชการทหารในกองประจำการ โดยจะได้หมายนัดเข้ารับราชการทหาร (สด. ๔๐)คนจำพวกที่ 3 และ 4 ในการตรวจเลือกจะไม่ถูกส่งตัวเข้า กองประจำการ คนจำพวกที่ 3 ให้มาตรวจเลือกในคราวถัด ไป เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกแล้วยังเป็นคนจำพวกที่ 3 อยู่ 3 ครั้งให้งดเรียก คนจำพวกที่ 3 เมื่อมาตรวจเลือกจะได้ใบสำคัญสำหรับคนจำพวกที่ 3 (สด. ๔) ส่วนคนจำพวกที่ 4 ได้รับใบสำคัญ สำหรับคนจำพวกที่ 4 (สด. ๕)บุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ์ผ่อนผัน ผ่านการตรวจเลือกแล้ว และผลการตรวจเลือกถึงที่สุดแล้วไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการไม่ต้องรับ หมายเรียกและไม่ต้องมาตรวจเลือกอีกในปีต่อไป ส่วนผู้ที่ผ่อนผันอยู่ต้องมาตรวจเลือกทุกปีจนกว่าอายุจะครบ 30 ปีใบรับรองผลการตรวจเลือก สด. ๔๓ ทุกคนต้องได้รับในวันตรวจเลือกจากกรรมการตรวจเลือกเท่านั้น หากได้รับในวันอื่นหรือจากบุคคลอื่นให้สันนิษฐานว่าเป็นของปลอม ผู้นำไปใช้มีความผิดตามกฎหมาย และถือว่าผู้นั้นไม่ได้มาเข้ารับการตรวจเลือกอย่างถูกต้อง
การยกเว้น การไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก และการผ่อนผัน
มีบุคคลบางจำพวกที่ไม่ต้องเข้ารับ ราชการทหารกองประจำการในยามปกติสามประเภท ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการยกเว้น และบุคคลที่ไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก สองประเภทนี้ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกเลย ส่วนบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันต้องเข้ารับการตรวจเลือกทุกปี
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการ ได้แก่
(1) พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์
(2) คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้
(3) บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกรับราชการทหารกองประจำการใน ยามปกติ ได้แก่
(1) พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(2) นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่ กำหนดในกฎกระทรวงและ ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(3) บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่ กระทรวงกลาโหมกำหนดตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร
(4) นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม
(5) ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(6) นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวง ศึกษาธิการ
(7) นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม
บุคคลที่ไม่เข้ารับการตรวจเลือกก็ ไม่ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนการตรวจเลือกได้แก่
(1) ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดย ปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการ อันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง
(2) นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(3) ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม
(4) บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม
(5) เกิดเหตุสุดวิสัย
(6) ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น
(7) ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกใน วันตรวจเลือก
กรณีตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องได้รับการผ่อนผันเฉพาะคราวจากรัฐมนตรีว่ากระทรวง มหาดไทย หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
บุคคลที่ได้รับการผ่อนผัน ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก ถ้ามีจำนวนทหารกองเกินที่จะรับราชการเป็นทหารกองประจำการได้มากกว่าจำนวนที่ ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันแก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความ สามารถ หรือพิการทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกัน คงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณา ผ่อนผันให้หนึ่งคน
(2) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่หรือน้องนั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
(3) บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้อ้างสิทธิตาม (1) หรือ (2) แห่งมาตรานี้ ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกเข้ากองประจำการไม่ น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีพิเศษซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ร้องและผู้ร้องต้องร้องต่อคณะ กรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกตามมาตรา 30 อีก ครั้งหนึ่ง นายอำเภอต้องสอบสวนหลักฐานไว้เสียก่อนวันตรวจเลือก เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้ตัดสินได้ทันที การขอผ่อนผันตาม (3) ให้แจ้งผ่านทางสถานศึกษา
ถ้าไม่สามารถจะผ่อนผันพร้อมกัน ทั้งสามประเภทได้ เพราะจะทำให้คนไม่พอจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันคนประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 รวมกันก่อน ถ้าคนยังเหลือจึงผ่อนผันคนประเภทที่ 3 ถ้าจำนวนคนใน ประเภทใดจะผ่อนผันไม่ได้ทั้งหมดต้องให้คนประเภทนั้นจับสลาก
การหลีกเลี่ยงเข้ารับราชการทหาร
แม้ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่มีขบวนการทำการสนับสนุนให้ผู้ทหารกองเกินหลบเลี่ยงการรับราชการทหารกัน อย่างแพร่หลาย โดยสัสดีอำเภอเป็นตัวการสำคัญ โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
1.การปลอมใบรับรองผลการตรวจเลือก สด. ๔๓
2.การให้ระบุในใบตรวจร่างกายว่า เป็น มีความผิดปกติทางร่างกาย (ดี 1 ประเภท 2) จึงไม่ต้องไปจับใบดำใบแดง
3.การย้ายสำมะโนครัวและภูมิลำเนา ทหาร ไปยังอำเภอที่มีคนสมัครเป็นทหารเต็มแล้ว
สำหรับวิธีการตามข้อ 1 นั้น จะไม่ปรากฏต้นขั้วที่กระทรวงกลามโหม เมื่อมีการตรวจสอบก็จะพบว่าบุคคลนั้นหนีทหารและถูกดำเนินคดีได้ ส่วนวิธีการในข้อ 2-3 เป็นการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และข้อมูลภายในที่สัสดีมีอยู่ ผู้ผ่านการตรวจเลือกจะได้รับใบตรวจเลือกของจริง ถูกต้องตามกฎหมาย ตามข่าวที่ปรากฏในปี พ.ศ. 2547[19]พบว่าสัสดีเรียก รับเงินจากผู้ไม่ต้องการรับราชการทหารเป็นหลักพัน บาทสำหรับวิธีการในข้อ 1 และหลักหมื่นบาทสำหรับวิธีการในข้อ 2-3
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่หลบหนีไม่ เข้ารับการตรวจเลือกซึ่งมักจะถูกสัสดีแจ้งความดำเนินคดี ผู้ที่หลบหนีนัต้องรอให้พ้นจากอายุที่ต้องรับราชการทหารคือ 30 ปีและรอให้คดีความหมดอายุความก่อนจึงจะกลับมาปรากฏตัวต่อสาธารณ ชนได้ มิฉะนั้นอาจถูกจับกุมและดำเนินคดีได้ อายุความในดคีหนีทหารทั่วไปมีกำหนด 10 ปีการทำร้าย ร่างกายตัวเองหรือผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องรับราชการทหารมีระวาง โทษจำคุกหนึ่งปีถึงแปดปีเป็นโทษที่หนักที่สุดในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร และเป็นโทษเดียวในพระราชบัญญัตินี้ที่มีอายุความถึง 15 ปี
กฎหมายการศึกษา
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสอง ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- บุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ หรือมีร่างกายพิการ หรือมีความต้องการเป็นพิเศษ หรือผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
- บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาทั้งภาค บังคับ และนอกเหนือจากภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
- บิดามารดา บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่สนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังนี้
- การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรหรือผู้ซึ่งอยู่ในความ ดูแล รวมทั้งเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา
ระบบการศึกษา
การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาน ศึกษาจัดได้ทั้งสามรูปแบบ และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือ ต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และ
ระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา ให้มีการศึกษาภาคบังคับเก้าปี นับจากอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก หรือเมื่อสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
- สำหรับเรื่องสถานศึกษานั้น การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดใน
1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ เอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนา
3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
- การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือ หน่วยงานทื่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถาน ศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษา เฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายและ มาตรฐานการศึกษาของชาติ
การจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความ สำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
การจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบในหมวด 3 ต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการเรียนรู้
ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ ละระดับการศึกษา ได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา นอกจากนั้น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังต้องส่งเสริมให้ผู้สอน จัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ การประเมินผลผู้เรียน ให้สถานศึกษาพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ส่วนการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบด้วย หลักสูตรการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ต้องมีความหลากหลาย โดยส่วน กลางจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความเป็นไทยและความเป็นพลเมืองดี การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอด
จนเพื่อการศึกษาต่อและให้สถานศึกษาขั้นพื้น ฐานจัดทำหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะของสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนสังคมและประเทศชาติ สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มเรื่องการพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสังคมศึกษา
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการ ศึกษาของรัฐ
แบ่งเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษาให้มากที่สุด
1.1 ระดับชาติ
ให้มีกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทรวมทั้ง การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากรรวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีองค์กรหลักที่เป็นคณะ บุคคลในรูปสภาหรือคณะกรรมการสี่
องค์กร คือ
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม
มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำ แก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐ มนตรีและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้สำนักงานของทั้งสี่องค์กรเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการแต่ละองค์กร ประกอบด้วยกรรมการ โดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน มีเลขาธิการของแต่ละสำนักงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม การสนับสนุนทรัพยากร การประเมินผลการจัดการศึกษา การดำเนินการด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายและแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล ดำเนินการจัดการศึกษาและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่า ด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ
1.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและ การอุดมศึกษาระดับต่ำ กว่าปริญญา ให้ยึดเขตพื้นที่การ
ศึกษาโดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา และจำนวนประชากรเป็นหลัก รวมทั้งความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการ และสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา
ประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนใน เขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถ จัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู และผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู ผู้นำทางศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
1.3 ระดับสถานศึกษา
ให้แต่ละสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับ ต่ำกว่าปริญญา มีคณะกรรมการสถาน
ศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาและจัดทำสาระของ หลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้แทน ผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกระจายอำนาจ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษาฯ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการ ศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาได้ ทุกระดับและทุกประเภทตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการรองรับสิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อม รวมทั้งประสานและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาได้
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการ ศึกษาของเอกชน
สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคลจัดการศึกษาได้ ทุกระดับและทุกประเภท มีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับ สถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งรัฐต้องให้การสนับสนุนด้านวิชาการและด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การกำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐของเขตพื้นที่การศึกษา หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของ เอกชน โดยให้รับฟังความคิดเห็นของเอกชน และประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนสถานศึกษาของเอกชนระดับปริญญา ให้ดำเนินกิจการโดยอิสระภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้า ปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินและจัดให้มีการ ประเมินดังกล่าว รวมทั้งเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐานให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต้นสังกัด ให้สถานศึกษาปรับปรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ รายงานต่อคณะกรรมการต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพ ชั้นสูง โดยรัฐจัดสรรงบประมาณและกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ฯลฯ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กรอิสระมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบ
อนุญาตประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ ยกเว้น ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดการศึกษาในศูนย์การเรียน วิทยากรพิเศษ และผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ให้ข้าราชการของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การ ศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับปริญญา ที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะของสถานศึกษานั้น ๆ ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา โดยให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมและให้แรงจูงใจ รวมทั้งใช้มาตรการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสม สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่น รวมทั้งหารายได้จากบริการของสถานศึกษาที่ไม่ขัดกับภารกิจหลักอสังหาริม ทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐได้มา ทั้งจากผู้อุทิศให้หรือซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา บรรดารายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ ของสถานศึกษาของรัฐดังกล่าว ไม่เป็นรายได้ที่ต้องส่งกระทรวงการคลัง ให้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถนำรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ มาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถาบันนั้น ๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา โดยจัดสรรให้ผู้เรียนและสถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในรูปเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล กองทุนประเภทต่าง ๆ และทุนการศึกษา รวมทั้งให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษา ด้วย
กฎหมายเลือกตั้ง
1. ความหมาย ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง คือ การที่ราษฎรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน เพื่อทำหน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด เป็นต้นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นการเลือกตั้งโดยเสรี กล่าวคือ ต้องเปิดกว้าง
ให้อิสระในการตัดสินใจทั้งในแง่ของ ผู้สมัครและผู้ออกเสียง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยบริสุทธิ์และยุติธรรม
ไม่มีการชี้นำหรือบังคับให้เลือก
2. ความสำคัญของการเลือกตั้ง
ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการปกครอง ประเทศ แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนทุกคนจะทำหน้าที่ปกครองประเทศพร้อม ๆ กัน จึงมีความจำเป็นต้องเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน และประชาชนสามารถเปลี่ยนผู้แทนซึ่งใช้อำนาจแทนตนได้ โดยเลือกผู้ที่ตนเห็นว่าประโยชน์แก่ส่วนรวมตามแนวทางที่ตนต้องการ โดยพิจารณาจากนโยบายของผู้สมัครหรือพรรคของผู้สมัคร
3. การเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ
การเลือกตั้งในประเทศไทยมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน กล่าวคือ
3.1 ระดับหมู่บ้าน คือ การเลือกผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้านและสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.2 ระดับตำบล คือ กำนัน ผู้บริหารท้องถิ่น
3.3 ระดับอำเภอ คือ สมาชิกสภาเทศบาลและสมาชิกสภาเมืองพัทยา
3.4 ระดับจังหวัด คือ สมาชิกสภาจังหวัด และการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งได้แก่
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา นคร การเลือกตั้งสมาชิกสภา กทม. และการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
3.5 ระดับชาติ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกวุฒิสภา
4. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือก ตั้ง
4.1 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส. สว.
4.1.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลที่มีสัญชาติไทย โดยการเปลี่ยนแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
4.1.2 มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.1.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4.2 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ บริหารท้องถิ่น
4.2.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับ ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2.2 มีอายุไม่ต่ำสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.2.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง
4.2.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กร ปกครองกำหนดในกรณีที่มีการ ย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่ง ไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันอันทำให้ บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
4.3 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส.
4.3.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.3.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4.3.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
4.3.4 เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียง พรรคเดียวนับถึงวันสมัคร รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
4.3.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมี ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดัง ต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับสมัครรับ เลือกตั้งมาแล้วเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือก ตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
(3) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา
(5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัด ที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี
4.4 คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง สว.
4.4.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.4.2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริ บูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4.4.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4.4.4 มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 107 (5)
4.5 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น
4.5.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.5.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง การเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.5.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4.5.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
4.6 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่น
4.6.1 กรณีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสีย
ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือ กิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับ เลือกตั้ง
4.6.2 นายกเทศมนตรี
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรองผู้บริหารท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่กระทำกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
(4) เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งถูกให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
4.6.3 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ เท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่ง สมาชิกสภาตำบล สมาชิก
สภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือเลขานุการ หรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่นเพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทาง ตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งวิธีการเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านอาจทำ ได้ทั้งวิธีลงคะแนนลับและเปิดเผย การเลือกตั้งในระดับอื่น ๆ จะใช้วิธีลับ ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ คือ จะต้องมีการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หากไม่มีชื่อหรือชื่อผิดพลาด หรือมีชื่อบุคคลที่ไม่รู้จักในบ้านของตน ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ถูกต้อง ที่สำคัญบัตรประจำตัวประชาชนต้องเก็บไว้กับตัว อย่าให้ใครยืมหรือทำหายเป็นอันขาดการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้ง
1) ในการเลือกตั้งต้องคอยติดตามประวัติและข่าวคราวเกี่ยว กับผู้สมัครอยู่เสมอ
2) ตรวจดูว่ามีสิทธิ์เลือกผู้แทนได้กี่คน
3) จำหมายเลขผู้สมัครที่ต้องการเลือกให้ได้ เมื่อรับบัตรเลือกตั้งแล้วเดินเข้าคูหา
4) ทำเครื่องหมาย X (กากบาท) ในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงเครื่องหมาย(หมายเลข) ของผู้สมัคร
5) พับบัตรเลือกตั้งให้กรรมการหย่อนลงในหีบบัตรต่อหน้าตน เอง
ข้อสำคัญต้องเลือกคนที่มีความจริงใจ และเสียสละเพื่อส่วนร่วมมีความรู้ความสามารถและมีอาชีพสุจริตเป็นหลักเป็น แหล่งแน่นอนไม่ควรเลือกผู้ที่มีเบื้องหลังไม่สุจริต และซื้อขายเสียง
6. ผลเสียของการซื้อขายเสียง
สำหรับการซื้อขายเสียง นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งของการเลือกตั้งในทุกระดับ เพราะไม่ได้หวังที่จะเข้ามาเพื่อช่วยสังคมส่วนร่วมอย่างจริงใจ เป็นเพียงทางผ่าน และผลประโยชน์ของตนหรือเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ตามวิถีทางของเขา โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของชาติและประชาชน คนเหล่านี้จะไม่เห็นใครสำคัญกว่าตนเอง และประโยชน์ของตน ซึ่งไม่ควรจะให้มีโอกาสเข้าจัดการผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่าง เด็ดขาด
7. การป้องกันการซื้อขายเสียง
หนทางป้องกันการซื้อขายเสียง ก็อยู่ที่ประชาชนที่จะต้องคำนึงอยู่เสมอว่าอำนาจของประชาชนเป็นอำนาจ ศักดิ์สิทธิ์ จะซื้อขายกันไม่ได้และช่วยกันโดย
7.1 ไม่รับเงินหรือสิ่งแลกเปลี่ยน
7.2 ต่อต้านการซื้อเสียงทุกชนิดในการเลือกตั้งทุกระดับ
7.3 ถ้าพบเห็นการซื้อขายเสียงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีและ ช่วยเป็นพยานให้กับทาง เจ้าหน้าที่
7.4 แนะนำคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านให้เห็นภัยของการซื้อ ขายเสียงและร่วมกัน รณรงค์ต่อต้าน
7.5 ชักชวนกันไปใช้สิทธิให้มาก ๆ
8. การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
การรณรงค์ให้ประชาชนเลือกตั้งให้ถือ เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยสังคม โดยชี้ให้เห็น
ความสำคัญของการเลือกตั้ง แต่การรณรงค์ไม่จำเป็นต้องรณรงค์เฉพาะช่วงที่จะมีการเลือกตั้งเท่านั้น แต่สามารถทำได้ในทุกโอกาส เช่น
1) การติดตามข่าวสารของผู้แทนมาเผยแพร่แก่ประชาชน
2) การติดตามพฤติกรรม แนวความคิด และการตัดสินใจของผู้แทนที่มีต่อนโยบายสาธารณะมาเผยแพร่
3) การจับกลุ่มสนทนาปัญหาของบ้านเมืองการเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับ ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) ชม/ฟังการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาฯ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเรื่องการเลือกตั้งเป็นสิ่งใกล้ตัว มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง
9. ประชาชนควรทำอย่างไรเมื่อมีการเลือกตั้ง
การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้งจึงเป็น สิ่งสำคัญเราคงจะเลือกโดยเห็นแก่พรรคพวกหรือเกรงใจเพราะเป็นคนรู้จักกันหรือ มีคนมาขอร้องให้เลือกไม่ได้อีกแล้ว และโดยเฉพาะการเลือกตั้งที่เห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นการกระทำที่เลวร้าย ประชาชนจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้โดย
9.1 พิจารณานโยบาย/จุดยืนของพรรคว่าเป็นไปตามแนวทางที่เรา ต้องการหรือไม่
9.2 พิจารณาตัวบุคคลผู้สมัคร โดยดูประวัติความเป็นมาว่า เป็นคนดีมีจุดยืนเคียงข้าง
ประชาชนและสังคมส่วนรวมหรือไม่
9.3 พิจารณาถึงบทบาทในทางสังคมและด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครและพรรคที่สังกัดอย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเลือกตั้งทุกคนต้องปฏิบัติในหน้าที่ของพลเมือง 4 ประการ คือ
(1) ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง
(2) ชักชวนคนอื่นไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยอิสระ
(3) สอดส่องดูแลไม่ให้มีการโกงเลือกตั้ง
(4) หากรู้เห็นว่ามีการโกงเลือกตั้งหรือซื้อขายเสียงให้ แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
10. หากประชาชนไม่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจะเสียสิทธิดัง ต่อไปนี้ในการที่ผู้มี สิทธิเลือกตั้งไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 หรือ แจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคล ซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือก ตั้ง ได้ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้10.1 กรณี ส.ส. สว.
10.1.1 สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
10.1.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.1.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
10.1.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.1.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
10.1.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อ บัญญัติท้องถิ่น ตาม
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อ บัญญัติท้องถิ่น
10.1.7 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน บุคคล ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการเสริม สร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
10.1.8 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจน ถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
10.2 กรณีไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้อง ถิ่นจะเสียสิทธิ ดังนี้
10.2.1 สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้อง ถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
10.2.3 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะ
ปกครองท้องที่
10.2.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ บริหารท้องถิ่น
10.2.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครอง ท้องที่
10.2.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อ บัญญัติท้องถิ่น ตาม
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อ บัญญัติท้องถิ่น
10.2.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
การเลือกตั้ง คือ การที่ราษฎรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน เพื่อทำหน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด เป็นต้นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นการเลือกตั้งโดยเสรี กล่าวคือ ต้องเปิดกว้าง
ให้อิสระในการตัดสินใจทั้งในแง่ของ ผู้สมัครและผู้ออกเสียง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยบริสุทธิ์และยุติธรรม
ไม่มีการชี้นำหรือบังคับให้เลือก
2. ความสำคัญของการเลือกตั้ง
ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการปกครอง ประเทศ แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนทุกคนจะทำหน้าที่ปกครองประเทศพร้อม ๆ กัน จึงมีความจำเป็นต้องเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน และประชาชนสามารถเปลี่ยนผู้แทนซึ่งใช้อำนาจแทนตนได้ โดยเลือกผู้ที่ตนเห็นว่าประโยชน์แก่ส่วนรวมตามแนวทางที่ตนต้องการ โดยพิจารณาจากนโยบายของผู้สมัครหรือพรรคของผู้สมัคร
3. การเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ
การเลือกตั้งในประเทศไทยมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน กล่าวคือ
3.1 ระดับหมู่บ้าน คือ การเลือกผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้านและสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.2 ระดับตำบล คือ กำนัน ผู้บริหารท้องถิ่น
3.3 ระดับอำเภอ คือ สมาชิกสภาเทศบาลและสมาชิกสภาเมืองพัทยา
3.4 ระดับจังหวัด คือ สมาชิกสภาจังหวัด และการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งได้แก่
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา นคร การเลือกตั้งสมาชิกสภา กทม. และการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
3.5 ระดับชาติ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกวุฒิสภา
4. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือก ตั้ง
4.1 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส. สว.
4.1.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลที่มีสัญชาติไทย โดยการเปลี่ยนแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
4.1.2 มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.1.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4.2 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ บริหารท้องถิ่น
4.2.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับ ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2.2 มีอายุไม่ต่ำสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.2.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง
4.2.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กร ปกครองกำหนดในกรณีที่มีการ ย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่ง ไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันอันทำให้ บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
4.3 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส.
4.3.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.3.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4.3.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
4.3.4 เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียง พรรคเดียวนับถึงวันสมัคร รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
4.3.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมี ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดัง ต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับสมัครรับ เลือกตั้งมาแล้วเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือก ตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
(3) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา
(5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัด ที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี
4.4 คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง สว.
4.4.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.4.2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริ บูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4.4.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4.4.4 มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 107 (5)
4.5 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น
4.5.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.5.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง การเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.5.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4.5.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
4.6 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่น
4.6.1 กรณีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสีย
ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือ กิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับ เลือกตั้ง
4.6.2 นายกเทศมนตรี
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรองผู้บริหารท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่กระทำกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
(4) เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งถูกให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
4.6.3 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ เท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่ง สมาชิกสภาตำบล สมาชิก
สภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือเลขานุการ หรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่นเพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทาง ตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งวิธีการเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านอาจทำ ได้ทั้งวิธีลงคะแนนลับและเปิดเผย การเลือกตั้งในระดับอื่น ๆ จะใช้วิธีลับ ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ คือ จะต้องมีการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หากไม่มีชื่อหรือชื่อผิดพลาด หรือมีชื่อบุคคลที่ไม่รู้จักในบ้านของตน ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ถูกต้อง ที่สำคัญบัตรประจำตัวประชาชนต้องเก็บไว้กับตัว อย่าให้ใครยืมหรือทำหายเป็นอันขาดการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้ง
1) ในการเลือกตั้งต้องคอยติดตามประวัติและข่าวคราวเกี่ยว กับผู้สมัครอยู่เสมอ
2) ตรวจดูว่ามีสิทธิ์เลือกผู้แทนได้กี่คน
3) จำหมายเลขผู้สมัครที่ต้องการเลือกให้ได้ เมื่อรับบัตรเลือกตั้งแล้วเดินเข้าคูหา
4) ทำเครื่องหมาย X (กากบาท) ในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงเครื่องหมาย(หมายเลข) ของผู้สมัคร
5) พับบัตรเลือกตั้งให้กรรมการหย่อนลงในหีบบัตรต่อหน้าตน เอง
ข้อสำคัญต้องเลือกคนที่มีความจริงใจ และเสียสละเพื่อส่วนร่วมมีความรู้ความสามารถและมีอาชีพสุจริตเป็นหลักเป็น แหล่งแน่นอนไม่ควรเลือกผู้ที่มีเบื้องหลังไม่สุจริต และซื้อขายเสียง
6. ผลเสียของการซื้อขายเสียง
สำหรับการซื้อขายเสียง นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งของการเลือกตั้งในทุกระดับ เพราะไม่ได้หวังที่จะเข้ามาเพื่อช่วยสังคมส่วนร่วมอย่างจริงใจ เป็นเพียงทางผ่าน และผลประโยชน์ของตนหรือเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ตามวิถีทางของเขา โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของชาติและประชาชน คนเหล่านี้จะไม่เห็นใครสำคัญกว่าตนเอง และประโยชน์ของตน ซึ่งไม่ควรจะให้มีโอกาสเข้าจัดการผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่าง เด็ดขาด
7. การป้องกันการซื้อขายเสียง
หนทางป้องกันการซื้อขายเสียง ก็อยู่ที่ประชาชนที่จะต้องคำนึงอยู่เสมอว่าอำนาจของประชาชนเป็นอำนาจ ศักดิ์สิทธิ์ จะซื้อขายกันไม่ได้และช่วยกันโดย
7.1 ไม่รับเงินหรือสิ่งแลกเปลี่ยน
7.2 ต่อต้านการซื้อเสียงทุกชนิดในการเลือกตั้งทุกระดับ
7.3 ถ้าพบเห็นการซื้อขายเสียงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีและ ช่วยเป็นพยานให้กับทาง เจ้าหน้าที่
7.4 แนะนำคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านให้เห็นภัยของการซื้อ ขายเสียงและร่วมกัน รณรงค์ต่อต้าน
7.5 ชักชวนกันไปใช้สิทธิให้มาก ๆ
8. การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
การรณรงค์ให้ประชาชนเลือกตั้งให้ถือ เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยสังคม โดยชี้ให้เห็น
ความสำคัญของการเลือกตั้ง แต่การรณรงค์ไม่จำเป็นต้องรณรงค์เฉพาะช่วงที่จะมีการเลือกตั้งเท่านั้น แต่สามารถทำได้ในทุกโอกาส เช่น
1) การติดตามข่าวสารของผู้แทนมาเผยแพร่แก่ประชาชน
2) การติดตามพฤติกรรม แนวความคิด และการตัดสินใจของผู้แทนที่มีต่อนโยบายสาธารณะมาเผยแพร่
3) การจับกลุ่มสนทนาปัญหาของบ้านเมืองการเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับ ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) ชม/ฟังการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาฯ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเรื่องการเลือกตั้งเป็นสิ่งใกล้ตัว มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง
9. ประชาชนควรทำอย่างไรเมื่อมีการเลือกตั้ง
การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้งจึงเป็น สิ่งสำคัญเราคงจะเลือกโดยเห็นแก่พรรคพวกหรือเกรงใจเพราะเป็นคนรู้จักกันหรือ มีคนมาขอร้องให้เลือกไม่ได้อีกแล้ว และโดยเฉพาะการเลือกตั้งที่เห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นการกระทำที่เลวร้าย ประชาชนจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้โดย
9.1 พิจารณานโยบาย/จุดยืนของพรรคว่าเป็นไปตามแนวทางที่เรา ต้องการหรือไม่
9.2 พิจารณาตัวบุคคลผู้สมัคร โดยดูประวัติความเป็นมาว่า เป็นคนดีมีจุดยืนเคียงข้าง
ประชาชนและสังคมส่วนรวมหรือไม่
9.3 พิจารณาถึงบทบาทในทางสังคมและด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครและพรรคที่สังกัดอย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเลือกตั้งทุกคนต้องปฏิบัติในหน้าที่ของพลเมือง 4 ประการ คือ
(1) ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง
(2) ชักชวนคนอื่นไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยอิสระ
(3) สอดส่องดูแลไม่ให้มีการโกงเลือกตั้ง
(4) หากรู้เห็นว่ามีการโกงเลือกตั้งหรือซื้อขายเสียงให้ แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
10. หากประชาชนไม่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจะเสียสิทธิดัง ต่อไปนี้ในการที่ผู้มี สิทธิเลือกตั้งไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 หรือ แจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคล ซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือก ตั้ง ได้ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้10.1 กรณี ส.ส. สว.
10.1.1 สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
10.1.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.1.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
10.1.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.1.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
10.1.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อ บัญญัติท้องถิ่น ตาม
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อ บัญญัติท้องถิ่น
10.1.7 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน บุคคล ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการเสริม สร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
10.1.8 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจน ถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
10.2 กรณีไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้อง ถิ่นจะเสียสิทธิ ดังนี้
10.2.1 สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้อง ถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
10.2.3 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะ
ปกครองท้องที่
10.2.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ บริหารท้องถิ่น
10.2.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครอง ท้องที่
10.2.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อ บัญญัติท้องถิ่น ตาม
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อ บัญญัติท้องถิ่น
10.2.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
กฎหมายพรรค การเมือง
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ซึ่ง เริ่มเล็งเห็นว่าเงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยก็คือจำเป็น ต้องมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงวางกรอบไว้ให้พรรคการเมืองต้องมีฐานในหมู่ประชาชนกว้าง ขวางขึ้น และกำหนดจำนวนผู้สมัครขั้นต่ำที่พรรคการเมืองจะต้องส่งในการเลือกตั้งทั่วไป แต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ให้พรรคการเมืองต้องบริหารภายในด้วยความ โปร่งใสโดยการต้องจัดทำบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคไว้ด้วยเนื่อง จากกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องการส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ขึ้น และลดจำนวนพรรคขนาดเล็กลง พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับนี้จึงกำหนดเงื่อนไขในการจัดตั้งพรรคการเมือง ไว้ให้ยากขึ้นกว่าพระราชบัญญัติฉบับก่อนๆ โดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกจัดตั้งก่อนขอจดทะเบียนเป็น 5,000 คนและในจำนวนสมาชิก 5,000 คนนั้นต้อง ประกอบด้วยสมาชิกจากภาคต่างๆ ภาคละ 5 จังหวัดและมี จำนวนสมาชิกในแต่ละจังหวัดจังหวัดละไม่น้อยกว่า 50 คน ทั้งยังวางหลักเกณฑ์ในการตั้งสาขาพรรคให้ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 100 คน ขึ้นไป นอกจากนี้ยังกำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในการ เลือกตั้งทั่วไปอย่างน้อย 120 คนและต่อมาแก้ไขเป็น จำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่พึงมี (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2538)มิฉะนั้นจะต้องถูกยุบเลิกพรรค
เนื่องจากพระราชบัญญัติพรรคการ เมือง พ.ศ. 2524ได้เพิ่มบทบัญญัติที่เน้นการสร้างรูปแบบของพรรคการเมืองในลักษณะ ที่เป็น จักรกลมากขึ้น โดยหวังจะให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันทางการเมือง () ที่เข้มแข็ง เติบโตเป็นพรรคขนาดใหญ่และมีจำนวนลดน้อยลงด้วยการนำเครื่องมือทางเศรษฐกิจมา ใช้บังคับทางอ้อม เช่นการบังคับให้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งคราวละไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ ของจำนวน ส.ส. ที่พึงมีซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การขยายจำนวนสมาชิกเป็น 5,000 คนเป็นอย่างน้อย การตั้งสาขาพรรคต้องมีสมาชิก 100 คนขึ้นไป รวมทั้งการยุบเลิกพรรคหากสมาชิกไม่ได้รับเลือกตั้ง ประกอบกับรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. ด้วย เหล่านี้จึงส่งผลให้บรรดาพรรคการเมืองทั้งหลายให้ความสำคัญกับชัยชนะหรือ จำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้งมากเป็นอันดับสูงสุด ทำให้มีการซื้อตัว แย่งตัวและการย้ายพรรคของ ส.ส. มีการเสนอระบบโควตามาใช้เพื่อจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ในการเลือกตั้งมีการทุ่มเงินซื้อเสียงและมีการจัดสูตรรัฐบาลผสมรูปแบบต่างๆ ระหว่างพรรคการเมืองเพื่อแยกฝ่าย ช่วงชิงการเป็นแกนนำจัดตั้งหรือร่วมเป็นรัฐบาล ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างพรรคการเมืองถูกกำหนดโดยสูตรของการจัด รัฐบาลผสมและความหวังของการเข้าร่วมรัฐบาล เมื่อมีการปรับเปลี่ยนสูตรของรัฐบาลผสม รวมทั้งส่งผลให้พรรคทางเลือก (potential party) มีบทบาทความสำคัญมากขึ้น ในฐานะที่เป็นตัวแปรในการอยู่รอดของรัฐบาล หรือในทางกลับกันพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่มีฐานะอำนาจเป็นตัวแปรก็อาจตกเป็น เบี้ยล่างของพรรคแกนนำ กรณีความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เบี่ยงเบนมากที่สุดคือ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลที่เน้นกลยุทธ์ตีให้แตก เพื่อจัดสูตรผสมรัฐบาลเสียใหม่เมื่อเห็นว่าพรรคของตนมีศักยภาพเข้าแทนที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลและข้อเท็จจริงในทางการเมือง ส่งผลให้การตรวจสอบทางการเมืองของฝ่ายค้านที่มีต่อฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่ได้ วางอยู่บนพื้นฐานของหลักการตรวจสอบถ่วงดุล (Check & Balance) อย่างแท้จริง หากแต่เป็นกลยุทธ์เพื่อการแย่งชิงอำนาจระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันเองเท่า นั้น (เชาวนะ ไตรมาศ, 2540 :หน้า 40-41)
5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
ด้วยกระแสการเรียกร้องและกดดัน ทางการเมืองจากประชาชน กลุ่มพลังต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อจะให้มีการปฏิรูปการเมือง จึงส่งผลให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองที่มีการนำเสนอนวัต กรรมหลายส่วน ทั้งยังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจหลายประการ ซึ่งเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับอื่นๆ ที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและส่งเสริมระบบ พรรคการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายประการ ดังนี้
1. การบัญญัติให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของบุคคล (มาตรา 68) ไม่ใช่เป็นสิทธิอย่างที่แล้วๆ มา
2. มีการกำหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็น พรรคการเมือง (มาตรา 47) 3. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน สมาชิก 500 คน โดยมีที่มาจาก 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เขตละ 1 คน จำนวน 400 คนและส่วนที่สองมาจากการเลือกตั้งแบบ บัญชีรายชื่อ (Party list)100 คน
4. มีการเปลี่ยนวิธีการนับคะแนนเลือกตั้งจากเดิมที่เคยนับ ที่หน่วยเลือกตั้ง มาใช้วิธีนำหีบ
บัตรเลือกตั้งไปเทรวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเพียงแห่งเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นๆ (มาตร 104 วรรคสี่)
5. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขต เลือกตั้งมาไม่น้อย กว่า 90 วัน (มาตรา 105 [3])
6. มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กก ต.) ขึ้นมาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง
7. กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นสมาชิกพรรค การเมืองที่ส่งสมัครไม่น้อยกว่า 90 วัน (มาตรา 107 [4])
8. ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลา เดียวกัน (มาตรา 240)
9. พรรคการเมืองอาจลงมติขับสมาชิกพรรคด้วยคะแนนเสียงไม่ น้อยกว่าสามในสี่ของที่ ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ สังกัดพรรคการเมืองนั้น (มาตรา 118 [8])
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ว่า ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์และไม่มีลักษณะต้อง ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปสามารถ รวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้ (มาตรา 8) และต้องมี สมาชิกห้าพันคนขึ้นไปภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และกระจายตามภาคและจังหวัดตามที่นายทะเบียนกำหนด และต้องมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา
อนึ่ง มีข้อน่าสังเกตบางประการเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ซึ่งเป็นการใช้ผสมกันระหว่าง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่งคน (single-member constituency) ซึ่งมีวิธีคิดคะแนนแบบใช้ เสียงข้างมากรอบเดียวหรือเสียงข้างมากอย่างง่าย (first-past-the-post-system) และผู้มีสิทธิออกเสียงเลือก ตั้งหนึ่งคนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้หนึ่ง เสียง (one man one vote) กับแบบรวมเขตในระบบบัญชีรายชื่อพรรค (party list) ซึ่งมีวิธีคิดคะแนนแบบสัดส่วน (proportional representation) และถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเดียว (nation-list) โดยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหนึ่งคนออกเสียงเลือกตั้ง ได้หนึ่งเสียง มีทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีความแม่นตรงจาก ประสบการณ์ของประเทศที่แตกต่างกันหลายประเทศก็คือ ระบบการเลือกตั้งมีผู้แทนได้คนเดียวนั้น โน้มเอียงที่จะเอื้อให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (two party system) เพราะระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะบีบให้นักการเมือง ทั้งหลายต้องรวมตัวกันเป็น พรรคการเมือง ที่แข่งขันต่อสู้กันสองพรรค (เจอรัลด์ แอล. เคอร์ติส, 2539 : 16) เช่นที่เป็น อยู่ในอังกฤษ ส่วนระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นจะเอื้ออำนายให้พัฒนาไปสู่ระบบหลายพรรค (multi- party system) เช่นในประเทศเยอรมันและหลายประเทศ ในยุโรป รวมทั้งพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่นที่สนับสนุนการมีผู้แทนตาม ระบบสัดส่วน อนึ่ง มีข้อน่าสังเกตบางประการเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ซึ่งเป็นการใช้ผสมกันระหว่าง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่งคน (single-member constituency) ซึ่งมีวิธีคิดคะแนนแบบใช้ เสียงข้างมากรอบเดียวหรือเสียงข้างมากอย่างง่าย (first-past-the-post-system) และผู้มีสิทธิออกเสียงเลือก ตั้งหนึ่งคนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้หนึ่ง เสียง (one man one vote) กับแบบรวมเขตในระบบบัญชีรายชื่อพรรค (party list) ซึ่งมีวิธีคิดคะแนนแบบสัดส่วน (proportional representation) และถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเดียว (nation-list) โดยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหนึ่งคนออกเสียงเลือกตั้ง ได้หนึ่งเสียง นอกจากนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ยังระบุรายละเอียด
1) การจัดองค์กรของพรรคการเมืองพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการ เมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนด หลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนิน กิจการของพรรคการ เมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20)
- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบ ริบูรณ์ (มาตรา12)
2) การรวมและการยุบพรรคการเมือง
เจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูปการเมืองนั้นต้องการส่งเสริมเสถียรภาพของพรรคการเมืองและต้องการ ให้ระบบการเมืองไทยมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งเพียงน้อยพรรค ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก ยุบพรรคหรือรวมพรรค เพื่อให้เกิดพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ได้วางหลักเกณฑ์ในการรวมพรรคไว้ดังนี้
2.1 การรวมพรรคการเมือง
2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ (มาตรา 70)
1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง ใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกัน จะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง
3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่ น้อยกว่า 7 วัน
4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอัน ยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่
2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการ เมืองที่เป็นหลักการรวม พรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
1) ในกรณีที่การรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมพรรคหนึ่งหรือ หลายพรรคการเมือง เข้าเป็นพรรคการเมืองกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก พรรคการเมืองที่จะรวมกัน ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 คือยื่นร่วมต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบัยน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่ เป็นหลักนั้นยุบไป นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองย่อมเลิกหรือ ยุบด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ (มาตรา 65)
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 15 คน
3) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น
4) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
5) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิเช่น องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คนภายใน 180 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง
3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมือง
ระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดย ทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) และระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ(Public Financing) (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : 270)
3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการ เมืองซึ่งอาจ เป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ
การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการ เมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
“ห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดินหรือกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศหรือเป็นการ บั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน”(มาตรา 52)
นอกจากนี้กฎหมายพรรคการเมืองห้าม มิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือดำเนิน กิจการทางการเมืองจากบุคคลหรือองค์กรดังต่อไปนี้ (มาตรา 53)
(1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือ กิจการหรือจดทะเบียนสาขา อยู่ในหรือนอกอาณาจักร
(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า
(4) องค์กรหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุน จากต่างประเทศซึ่งมี วัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือมีผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(5) บุคคล องค์กร หรือนิติบุคคลตามที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนิน
กิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อ ดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลองค์การหรือ
นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) (4)
(6) บุคคล องค์การหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การห้ามพรรคการเมืองรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การดังกล่าวก็เพื่อ ป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากบุคคลหรือองค์กรจากต่าง ชาติ นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจ สอบได้ กฎหมายจึงได้กำหนดให้หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคและกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดง ทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู้สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (มาตรา 42)
3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรค การเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือ องค์กรที่สนับสนุนอยู่ จะเห็นว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองปี พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ เข้มแข็งขึ้นมาในขณะ เดียวกันก็ต้องการลดจำนวนของพรรคขนาดเล็กลง
กล่าวได้ว่าแนวทางในการออกกฎหมาย พรรคการเมืองไทยในอดีตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่และ หาทางลดจำนวนของพรรคขนาดเล็กลง โดยอาศัยการกำหนดกฎเกณฑ์เงื่อนไขบางอย่างเอาไว้ เช่น กำหนดจำนวนสมาชิกพรรค จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งขั้นต่ำที่พรรคต้องส่งเอาไว้ เป็นต้น หากพรรคการเมืองใดไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องยุบพรรค ดังจะเห็นได้ว่า ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ได้กำหนดว่า พรรคการเมืองต้องถูกยกเลิกถ้ามีจำนวนสมาชิกต่ำกว่า 500 คน ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ได้กำหนดให้เข้มงวดขึ้นโดยการกำหนดให้พรรคต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ 1,000 คน การจัดตั้งพรรคก็เป็นไปได้ยากขึ้น หรือในกรณีของพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ก็ ยิ่งวางเงื่อนไขไว้เข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งคราวละไม่น้อยกว่า หนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พึงมี พรรคการเมืองต้องขยายสมาชิกให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน การจัดตั้งสาขาพรรคต้องมีจำนวนสมาชิก 100 คนขึ้นไป รวมทั้งพรรคการเมืองจะต้องถูกยุบถ้าไม่มีสมาชิกคนใดได้รับเลือกตั้ง (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, 203) เป็นต้น
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับ การดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการ เช่น มนุษย์ต้องบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ต้องใช้บริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า รวมทั้งบริการอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การใช้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคหรือการใช้บริการต่าง ๆจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาแนะนำไว้ ด้วยเหตุนี้ รัฐในฐานะผู้คุ้มครองดูแลประชาชน หากพบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการบริโภคสินค้าและบริการจะต้องรีบ เข้าไปแก้ไขเยียวยาและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน
หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่หลากหลายและ กระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น
1. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล
2. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็ เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล
3. กรณัที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของ ธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล
4. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือ ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล
5. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกัน ภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล
สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ที่ไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของ หนาวยงานที่ คุ้ทครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น เพระาหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนิน การไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการ บริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บรริโภคได้ 5 ประการคือ
1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้่หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพสินค้าและบริการ
2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการดดยปราศจาก การชักจูงก่อนตัดสิน ใจซื้อสินค้า
3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ สินค้าที่มีคุณภาพและ ได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4) สิทธิที่จะได้รับการพิพจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอหล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้า หรือรับบรริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า
2) การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
3) ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
4) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
5) เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการ คุ้มครอวผู้บรืโภค
กฎหมายที่ ประชาชนควรรู้
ความ หมายของกฎหมาย
กฎหมายนั้นมีความ หมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง
2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดย ผู้มีอำนาจในสังคม
3. กฎหมายใช้บังคับและ เป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป
4. กฎหมายต้องมีสภาพ บังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
มีผู้ ให้คำนิยามคำว่า “กฎหมาย” ไว้หลายความหมาย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมใน แต่ละยุคสมัย แต่โดยนัยแห่งความหมายแล้วคล้ายคลึงกัน เช่น กฎหมาย คือ
1. คำสั่งของผู้ปกครอง ว่าการแผ่นดิน ต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้อง รับโทษ
2. ข้อบังคับของรัฐซึ่ง กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูก ลงโทษ
3. ข้อบังคับของประเทศ ซึ่งใช้บังคับความประพฤติของพลเมือง ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดและย่อมถูกบังคับทำโทษ
4. คำสั่งซึ่งหมู่ชนยอม รับรองโดยตรงหรือโดยปริยาย และประกอบขึ้นด้วยมวลข้อบังคับ ซึ่งหมู่ชนเห็นว่าสำคัญ เพื่อความผาสุกของตน และพร้อมที่จะให้มีการบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตาม
5.การแสดงออกของ เจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน ซึ่งทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมด้วยตนเองหรือโดยผ่านผู้แทนของตนในการสร้างกฎหมาย และใช้บังคับกับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครอง การป้องกันหรือการลงโทษ
6. เครื่องมือที่รับรอง ผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในการที่จะรักษาสภาพไม่เท่าเทียมกันในสังคม เพื่อผลกำไรของชนชั้นตน
1.2 ความสำคัญ ของ กฎหมาย
กฏหมายมีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.กฏหมายมีลักษณะเป็นข้อ บังคับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
- บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด
- บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ 15 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาขน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น
2. กฏหมายมี ลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มี อำนาจสูงสุดใน รัฐ เช่น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกกฏหมาย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฏหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกาและกฏกระทรวง
3. กฏหมายจะต้องเป็นคำสั่ง หรือข้อบังคับที่ใช้กับบุคคลทุกคนในรัฐ โดยไม่มีข้อยก เว้น อย่างเสมอภาคไม่ว่าคนนั้นจะถือสัญชาติใดก็ตาม
4. กฏหมายมีผลบังคับใช้ตลอด ไป จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก
5. ผู้ใดฝ่าฝืนกฏหมายต้องได้ รับโทษ การปฏิบัติตามกฏหมายไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่
- ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน
- วิธีการเพื่อความ ปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัย ไม่มีความเข็ดหลาบ โดยไม่ถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญากำหนดไว้ 5 ประการ คือ การกักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนด เรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล และห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
- กฏหมายต้องมาจากรัฏ ฐาธิปัตย์ คือ กฏหมายที่บัญญัติออกมาต้องมาจากรัฐที่มีเอกราช
- พนักงานของรัฐเป็น ผู้บังคับให้เป็นไป ตามกฏหมาย หมายความว่า เมื่อมีการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฏหมาย จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจะแก้แค้นหรือลงโทษกันเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้พิพากษา เป็นต้น
องค์ประกอบของกฎหมาย
องค์ประกอบของกฎหมาย
กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ
๑. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ.
๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.
๓. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี ๒ ประเภท คือ
(๑) บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.
(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง).
๔. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม.
1.4 ประเภทของ กฎหมาย
การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท
(1) กฎหมายมหาชน (Public Law)
(2) กฎหมาย เอกชน (Private Law)
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
1. กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่ กฎหมาย ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือใน ฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้ ดัง นี้
(1) รัฐ ธรรมนูญ
(2) กฎหมายปกครอง
(3) กฎหมายอาญา
(4) กฎหมายว่าด้วยพระ ธรรมนูญศาลยุติธรรม
(5) กฎหมายว่าด้วยวิธี พิจารณาความอาญา
(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา ความแพ่ง
(1) รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้น ๆ ต่อกันและกัน ลักษณะทั่วไปคือ
ก. กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด อำนาจอธิปไตย ใครเป็นเจ้าของ (มาตรา
3 แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ ศักราช 2540 บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะ รัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ข. รัฐธรรมนูญต้องมีข้อความกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจ บริหาร อำนาจตุลาการต่อกันและกัน
(2) กฎหมาย ปกครอง ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลง
จากกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายว่าด้วยอำนาจการปกครองประเทศแต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการ ดำเนินการปกครอง ซึ่งในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัด ระเบียบแห่งองค์การปกครอง (เช่น จัดแบ่งออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือ เทศบาล สุขาภิบาล ฯลฯ ความเกี่ยวพันระหว่างองค์การเหล่านี้ ต่อกันและกัน และความเกี่ยว กับระหว่างองค์การเหล่านี้กับราษฎร) กฎหมายปกครองไม่ได้รวบรวมขึ้นในรูปของประมวลกฎหมาย กฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขากฎหมายปกครองเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราช บัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติ สุขาภิบาล พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
(3) กฎหมาย อาญา ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษ แยกพิจารณาได้ดังนี้ดังนี้
การบัญญัติความผิด หมายความว่า การ บัญญัติว่าการกระทำและการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญา
การบัญญัติโทษ หมายความว่า เมื่อใดบัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว ก็ต้องบัญญัติโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วยประมวลกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 3 ภาค ภาค 1 บท บัญญัติทั่วไป ภาค 2 ความผิด ภาค 3 ลหุโทษ ภาค 1 ตามมาตรา 17 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นได้ ด้วย
หลักเกณฑ์สำคัญ ของประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้
(1) จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย [1]
(2) จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย โทษอย่างไรก็ ต้องลงอย่างนั้น จะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้
(3) จะต้องตีความ กฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด
(4) การอุดช่องว่างแห่ง กฎหมาย อุดช่องว่าเป็น ผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
(5) จะ แก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้จากความรับผิดไม่ได้(มาตรา64)
หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญา มี 3 ข้อ
1.ต้องมีการกระทำ
2.การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความ ผิด
3.ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ หรือ ไม่มี กฎหมายยกเว้นความผิด
(4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาล และอำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา มี หลักการดังนี้
(1) หลักอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ
(2) หลักการจัดตั้งศาล จัดตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ
(3) หลักการห้ามตั้งศาลพิเศษ
(4) หลัก การผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตาม รัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ 2 ประการ คือ
(ก) การแต่งตั้ง ย้าย ถอด ถอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการก่อนแล้วจึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอนหรือโยกย้ายได้
(ข) การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการ หลัก ประกันทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวทำให้ผู้พิพากษาเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารจะให้คุณหรือโทษผู้พิพากษาไม่ได้ คณะ กรรมการตุลาการเป็นคนกลางไม่ขึ้นต่อฝ่ายบริหาร
(5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 และ ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมาย
ที่บัญญัติถึง กระบวนการ ที่จะนำตัวผู้กระความความผิดมารับโทษตามความผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา เริ่มตั้งแต่ ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ และศาลในการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำ ความผิดมาลงโทษ
(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความ ไม่ว่าจะ เป็นตัวฟ้องก็ดี คำให้การก็ดี หรือคำร้องต่อศาลที่ พิจารณาคดีแพ่งก็ดี คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผล ประโยชน์ของตนเอง
(2) การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี เช่นว่า การยื่นเอกสารจะต้องยื่นต้นฉบับ หรือกรณีใดยื่นสำเนาเอกสารได้ เป็นต้น เพราะการปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลให้ศาลไม่รับฟังพยาน เอกสารนั้น
(3) ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่ เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เช่น คดีฟ้องของเรียกเงินกู้ ความจริงมิได้กู้ แต่จำเลยเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย จึงยอมรับว่ากู้มาจริง ศาลก็ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์และคำรับของจำเลย เว้นแต่ในกรณีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นมาอ้างได้ ศาลอาจวินิจฉัยไปโดยไม่ฟังคำรับของคู่ความก็ได้
1. กฎหมายเอกชน(Private Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นเรื่องสัญญาซื้อขาย ก. ทำ สัญญาซื้อขายกับ ข. ก. กับ ข. ต่างก็อยู่ในฐานะเท่าเทียม กัน ก. จะบังคับ ข. ให้ตกลงกับ ก. อย่างใด ๆ โดย ข. ไม่สมัครใจไม่ได้ มีข้อที่
ควรสังเกตว่า ในบางกรณีรัฐก็ได้เข้ามาทำสัญญากับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นราษฎรได้ ซึ่งก็ต้องมีความสัมพันธ์เหมือนสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคล ธรรมดา กฎหมายเอกชนที่กล่าวไว้ในที่นี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ และกฎหมายอื่น ๆ โดยสรุป
(1) ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแบ่งแยกออกเป็น หลายลักษณะด้วยกัน เช่น นิติกรรม สัญญา หนี้ ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ละเมิด ตัวแทน นาย หน้า เป็นต้น ในแต่ละลักษณะ ได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ ในการศึกษากฎหมายของ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์แทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีการ ศึกษาถึงเนื้อหารายละเอียดในกฎหมายนั้น ๆ แต่ละลักษณะ แต่ ในที่นี้ที่กล่าวถึงไว้ก็เพียงเพื่อให้ทราบว่า ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน เท่านั้น
(2) กฎหมายอื่น ๆ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน อันมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนยังมีอยู่อีกมาก อันได้แก่พระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษอื่น อย่างเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดินของบุคคลบางประเภท เช่น คนต่างด้าว เป็นต้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา พระ ราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งกฎหมายมหาชนและกึ่งกฎหมาย เอกชน เพราะมีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยว ข้อง เช่น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง
3. กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน และ แบ่งแยกออกตามความสัมพันธ์ได้ 3 สาขา คือ
(1) กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐเป็น บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน
(2) กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพ่ง กฎหมายนี้จะกำหนดว่าถ้าข้อ เท็จจริงพัวพันกับต่างประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เป็นคนต่างด้าว หรือการซื้อขายของที่อยู่ในต่างประเทศจะใช้กฎหมายภายในประเทศ (คือกฎหมายไทย) หรือ อาจใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่คดีนั้น ๆ
(3) กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันทางคดีอาญา เช่น กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบ้างจะพึงฟ้องร้องในประเทศไทย ตลอดจนวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ
๑. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ.
๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.
๓. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี ๒ ประเภท คือ
(๑) บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.
(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง).
๔. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม.
1.4 ประเภทของ กฎหมาย
การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท
(1) กฎหมายมหาชน (Public Law)
(2) กฎหมาย เอกชน (Private Law)
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
1. กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่ กฎหมาย ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือใน ฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้ ดัง นี้
(1) รัฐ ธรรมนูญ
(2) กฎหมายปกครอง
(3) กฎหมายอาญา
(4) กฎหมายว่าด้วยพระ ธรรมนูญศาลยุติธรรม
(5) กฎหมายว่าด้วยวิธี พิจารณาความอาญา
(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา ความแพ่ง
(1) รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้น ๆ ต่อกันและกัน ลักษณะทั่วไปคือ
ก. กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด อำนาจอธิปไตย ใครเป็นเจ้าของ (มาตรา
3 แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ ศักราช 2540 บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะ รัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ข. รัฐธรรมนูญต้องมีข้อความกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจ บริหาร อำนาจตุลาการต่อกันและกัน
(2) กฎหมาย ปกครอง ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลง
จากกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายว่าด้วยอำนาจการปกครองประเทศแต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการ ดำเนินการปกครอง ซึ่งในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัด ระเบียบแห่งองค์การปกครอง (เช่น จัดแบ่งออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือ เทศบาล สุขาภิบาล ฯลฯ ความเกี่ยวพันระหว่างองค์การเหล่านี้ ต่อกันและกัน และความเกี่ยว กับระหว่างองค์การเหล่านี้กับราษฎร) กฎหมายปกครองไม่ได้รวบรวมขึ้นในรูปของประมวลกฎหมาย กฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขากฎหมายปกครองเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราช บัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติ สุขาภิบาล พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
(3) กฎหมาย อาญา ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษ แยกพิจารณาได้ดังนี้ดังนี้
การบัญญัติความผิด หมายความว่า การ บัญญัติว่าการกระทำและการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญา
การบัญญัติโทษ หมายความว่า เมื่อใดบัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว ก็ต้องบัญญัติโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วยประมวลกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 3 ภาค ภาค 1 บท บัญญัติทั่วไป ภาค 2 ความผิด ภาค 3 ลหุโทษ ภาค 1 ตามมาตรา 17 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นได้ ด้วย
หลักเกณฑ์สำคัญ ของประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้
(1) จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย [1]
(2) จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย โทษอย่างไรก็ ต้องลงอย่างนั้น จะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้
(3) จะต้องตีความ กฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด
(4) การอุดช่องว่างแห่ง กฎหมาย อุดช่องว่าเป็น ผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
(5) จะ แก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้จากความรับผิดไม่ได้(มาตรา64)
หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญา มี 3 ข้อ
1.ต้องมีการกระทำ
2.การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความ ผิด
3.ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ หรือ ไม่มี กฎหมายยกเว้นความผิด
(4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาล และอำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา มี หลักการดังนี้
(1) หลักอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ
(2) หลักการจัดตั้งศาล จัดตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ
(3) หลักการห้ามตั้งศาลพิเศษ
(4) หลัก การผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตาม รัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ 2 ประการ คือ
(ก) การแต่งตั้ง ย้าย ถอด ถอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการก่อนแล้วจึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอนหรือโยกย้ายได้
(ข) การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการ หลัก ประกันทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวทำให้ผู้พิพากษาเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารจะให้คุณหรือโทษผู้พิพากษาไม่ได้ คณะ กรรมการตุลาการเป็นคนกลางไม่ขึ้นต่อฝ่ายบริหาร
(5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 และ ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมาย
ที่บัญญัติถึง กระบวนการ ที่จะนำตัวผู้กระความความผิดมารับโทษตามความผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา เริ่มตั้งแต่ ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ และศาลในการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำ ความผิดมาลงโทษ
(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความ ไม่ว่าจะ เป็นตัวฟ้องก็ดี คำให้การก็ดี หรือคำร้องต่อศาลที่ พิจารณาคดีแพ่งก็ดี คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผล ประโยชน์ของตนเอง
(2) การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี เช่นว่า การยื่นเอกสารจะต้องยื่นต้นฉบับ หรือกรณีใดยื่นสำเนาเอกสารได้ เป็นต้น เพราะการปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลให้ศาลไม่รับฟังพยาน เอกสารนั้น
(3) ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่ เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เช่น คดีฟ้องของเรียกเงินกู้ ความจริงมิได้กู้ แต่จำเลยเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย จึงยอมรับว่ากู้มาจริง ศาลก็ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์และคำรับของจำเลย เว้นแต่ในกรณีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นมาอ้างได้ ศาลอาจวินิจฉัยไปโดยไม่ฟังคำรับของคู่ความก็ได้
1. กฎหมายเอกชน(Private Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นเรื่องสัญญาซื้อขาย ก. ทำ สัญญาซื้อขายกับ ข. ก. กับ ข. ต่างก็อยู่ในฐานะเท่าเทียม กัน ก. จะบังคับ ข. ให้ตกลงกับ ก. อย่างใด ๆ โดย ข. ไม่สมัครใจไม่ได้ มีข้อที่
ควรสังเกตว่า ในบางกรณีรัฐก็ได้เข้ามาทำสัญญากับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นราษฎรได้ ซึ่งก็ต้องมีความสัมพันธ์เหมือนสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคล ธรรมดา กฎหมายเอกชนที่กล่าวไว้ในที่นี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ และกฎหมายอื่น ๆ โดยสรุป
(1) ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแบ่งแยกออกเป็น หลายลักษณะด้วยกัน เช่น นิติกรรม สัญญา หนี้ ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ละเมิด ตัวแทน นาย หน้า เป็นต้น ในแต่ละลักษณะ ได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ ในการศึกษากฎหมายของ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์แทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีการ ศึกษาถึงเนื้อหารายละเอียดในกฎหมายนั้น ๆ แต่ละลักษณะ แต่ ในที่นี้ที่กล่าวถึงไว้ก็เพียงเพื่อให้ทราบว่า ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน เท่านั้น
(2) กฎหมายอื่น ๆ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน อันมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนยังมีอยู่อีกมาก อันได้แก่พระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษอื่น อย่างเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดินของบุคคลบางประเภท เช่น คนต่างด้าว เป็นต้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา พระ ราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งกฎหมายมหาชนและกึ่งกฎหมาย เอกชน เพราะมีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยว ข้อง เช่น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง
3. กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน และ แบ่งแยกออกตามความสัมพันธ์ได้ 3 สาขา คือ
(1) กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐเป็น บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน
(2) กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพ่ง กฎหมายนี้จะกำหนดว่าถ้าข้อ เท็จจริงพัวพันกับต่างประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เป็นคนต่างด้าว หรือการซื้อขายของที่อยู่ในต่างประเทศจะใช้กฎหมายภายในประเทศ (คือกฎหมายไทย) หรือ อาจใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่คดีนั้น ๆ
(3) กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันทางคดีอาญา เช่น กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบ้างจะพึงฟ้องร้องในประเทศไทย ตลอดจนวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
1.4 ประเภทของ กฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฏหมายโดย พิจารณาจากสภาพ ภูมิศาสตร์หรือขอบเขตการใช้กฏหมายมาเป็นแนวทางในการแบ่งประเภท อาจแบ่งกฏหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏหมาย ระหว่างประเทศ
กฏหมายระหว่างประเทศ เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฏหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
2. กฏหมายภาย ในประเทศ เป็น กฏหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฏหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฏหมายเอกชน
- กฏหมายมหาชน หมาย ถึง กฏหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้อง รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฏหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ
- รัฐ ธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ
- กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฏหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ
- กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฏหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน
- กฏหมายวิธีพิจารณา ความ อาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาล
- พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใด
- กฏหมาย เอกชน
เป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ให้บุคคลสามารถรักษาและป้องกันสิทธิมิให้ถูกละเมิดจากบุคคลอื่น เช่น กฏหมายเกี่ยวกับสัญญา การสมรส มรดก กฏหมายเอกชนแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
- กฏหมาย แพ่ง เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว ไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
- กฏหมาย พาณิชย์ เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฏหมายจึงต่างจากกฏหมายแพ่ง
- กฏหมายพิจารณาความ แพ่ง เป็นกฏหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง
สำหรับประเทศไทย ได้รวมกฏหมายแพ่งและกฏหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกัน เรียกว่า ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท ใช้เป็นหลักในการปกครอบประเทศ กฎหมายอื่นๆจะขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายฉบับนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะ หลักการ การใช้อำนาจของรัฐ ในการบริหารและปกครองประเทศในภาพรวมเท่านั้น ส่วนรายละเอียด รัฐธรรมนูญจะส่งต่อให้ไปออกเป็น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกาอีกทอดหนึ่ง แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องครับ
พระ ราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยใช้กระบวนการทางรัฐสภา กฎหมายส่วนใหญ่จะถูกออกใช้ด้วยวิธีการนี้ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมาย ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่จำเพาะจะจงและแคบลงมา โดยรับหลักการมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ
อีกทอดหนึ่ง กฎหมายประเภทนี้จะได้กล่าวถึงหลักการของแต่ละเรื่องโดยละเอียด แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยลึกๆ เช่น พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จะไม่กล่าวถึงลักษณะของป้ายทะเบียนรถ แต่จะให้อำนาจให้รัฐมนตรีว่าการฯ ไปออกเป็นกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเอาเอง เป็นต้น
อีกทอดหนึ่ง กฎหมายประเภทนี้จะได้กล่าวถึงหลักการของแต่ละเรื่องโดยละเอียด แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยลึกๆ เช่น พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จะไม่กล่าวถึงลักษณะของป้ายทะเบียนรถ แต่จะให้อำนาจให้รัฐมนตรีว่าการฯ ไปออกเป็นกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเอาเอง เป็นต้น
ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีศักดิ์และกระบวนการจัดทำ เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่จะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นกฎหมายที่ ได้รวบรวมเอากฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกัน มาไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน และนำมาจัดหมดหมู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการนำไปใช้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกพระราชกำหนดจะต้องเป็นกรณี เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือแก้ไขภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือ มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งเป็นการด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน เท่านั้น
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ รัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด ได้เปิดช่องทางและมอบให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดปลีก ย่อยเอาเอง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด แล้วแต่กรณี
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกฎกระทรวงนี้เหตุผลและที่มา เช่นเดียวกับการออกพระราชกฤษฎีกาทุกประการ แล้วเมื่อใดต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือออกเป็นพระราชกำหนด อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของเรื่องนั้นๆ กล่าวคือ ถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญก็จะออกเป็นพระราชกฤษีกา หากเป็นเรื่องไม่สำคัญก็จะออกเป็นเพียง กฎกระทรวงเท่านั้นครับ
ข้อบัญญัติจังหวัด, เทศบัญญัติ, ข้อบังคับตำบล, ข้อบัญญัติกรุงเทพ มหานคร, ข้อบัญญัติ เมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้อำนาจ ในการออกกฎหมายมาจากพระราชบัญญัติบางฉบับแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อใช้บังคับ เฉพาะในเขตปกครองของตนเท่านั้น