วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐบาลไทย คณะรัฐมนตรี




รัฐบาลไทย คณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1) [1]

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล

รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  • การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้สกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
  • สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
  • แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
  • ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน

[แก้]เรียนฟรี 15 ปี

รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นการส้รางโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 19,296,100,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน 15 ปี ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่าย 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการไปแล้วร้อยละ 77 หรือเป็นเงินประมาณ 18,575,470,000 บาท ส่วนหนึ่งยังมีผู้ปกครองที่มีรายได้พอสมควรไม่ประสงค์จะรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลนำเงินในส่วนนี้ไปช่วยในการพัฒนาโรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร 577 โรง รวมเป็นเงินประมาณ 40 ล้านบาท[3]

[แก้]เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

รัฐบาลต้องการสร้างหลักประกันรายได้ เป็นการตอบแทนการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการจ่ายเงินค่ายังชีพ จำนวน 500 บาท ต่อเดือน ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป[4]

[แก้]อสม. เชิงรุก

รัฐบาลเห็นความสำคัญของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีอยู่ 987,019 คนทั่วประเทศ ให้ได้รับเงินค่าสวัสดิการตอบแทน (ค่าป่วยการ) ในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน[5]

[แก้]การประกันรายได้เกษตรกร

โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรที่ทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3.95 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำรายได้ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 0.91 ล้านราย[6]

[แก้]การนำที่ดินราชพัสดุเพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร

การนำที่ดินราชพัสดุจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร ได้ดำเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 114,376 ไร่ จำนวนเกษตรกร 6,894 ราย

[แก้]การดูแลสุขภาพ

อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[7]

[แก้]การออกกฎหมาย

พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[8] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์.[9]

[แก้]การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

การตรวจตราขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[10] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[11]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[12]

[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการต่างประเทศของไทย มีคำสั่งเรียกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญ กลับประเทศ เพื่อเป็นการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ตอบโต้การให้สัมภาษณ์กล่าวหากระบวนการยุติธรรมของไทย และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ จากกรณีที่กัมพูชาแต่งตั้งพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทักษิณ ถือเป็นนักโทษที่ประเทศไทยต้องการตัวตามหมายจับในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งมีโทษจำคุก 2 ปี[13]

[แก้]เช็คช่วยชาติ

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[14] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[15] เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยสร้างกำลังซื้อภายในประเทศในวงกว้างอย่างทั่วถึง เห็นผลเร็วและรั่วไหลน้อยที่สุด เพื่อพยุงเศรษฐกิจช่วงเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวในระยะเร่งด่วน โดยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศโดยนำเงินใส่มือประชาชนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง รายละ 2,000 บาท (สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท)[16]

คณะรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ ดังนี้

ครม.
ที่
นายกรัฐมนตรีเริ่มวาระสิ้นสุดวาระระยะเวลาสิ้นสุดลงโดย
1พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์)
28 มิถุนายน พ.ศ. 247510 ธันวาคม พ.ศ. 2475165 วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475
210 ธันวาคม พ.ศ. 24751 เมษายน พ.ศ. 2476รัฐประหาร โดยพระราชกฤษฎีกา
31 เมษายน พ.ศ. 247620 มิถุนายน พ.ศ. 2476ลาออก และรัฐประหาร (นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา บังคับให้ลาออก)[1]
4พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
20 มิถุนายน พ.ศ. 247616 ธันวาคม พ.ศ. 2476ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)
516 ธันวาคม พ.ศ. 247622 กันยายน พ.ศ. 2477ลาออก (สภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
622 กันยายน พ.ศ. 24779 สิงหาคม พ.ศ. 2480ลาออก (กระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
79 สิงหาคม พ.ศ. 248021 ธันวาคม พ.ศ. 2480สภาครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)
821 ธันวาคม พ.ศ. 248016 ธันวาคม พ.ศ. 2481ยุบสภา[2] (เลือกตั้งทั่วไป)
9จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))
16 ธันวาคม พ.ศ. 24817 มีนาคม พ.ศ. 2485ลาออก (เปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม)
107 มีนาคม พ.ศ. 24851 สิงหาคม พ.ศ. 2487ลาออก (สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด)
11พันตรี ควง อภัยวงศ์
หลวงโกวิทอภัยวงศ์
1 สิงหาคม พ.ศ. 248731 สิงหาคม พ.ศ. 2488ลาออก (สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)
12นายทวี บุณยเกตุ31 สิงหาคม พ.ศ. 248817 กันยายน พ.ศ. 248817 วันลาออก (เปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)
13หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช17 กันยายน พ.ศ. 248831 มกราคม พ.ศ. 2489ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
14พันตรี ควง อภัยวงศ์
หลวงโกวิทอภัยวงศ์
31 มกราคม พ.ศ. 248924 มีนาคม พ.ศ. 2489ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)
15นายปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)
24 มีนาคม พ.ศ. 248911 มิถุนายน พ.ศ. 2489ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 (เลือกตั้งทั่วไป)
1611 มิถุนายน พ.ศ. 248923 สิงหาคม พ.ศ. 2489ลาออก (ถูกใส่ความกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)
17พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
23 สิงหาคม พ.ศ. 248930 พฤษภาคม พ.ศ. 2490ลาออก (หลังจากการอภิปรายทั่วไป 7 วัน 7 คืน)
1830 พฤษภาคม พ.ศ. 24908 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490รัฐประหาร นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณ
คณะทหารแห่งชาติ
นำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 249010 พฤศจิกายนพ.ศ. 24903 วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [3]
19พันตรี ควง อภัยวงศ์
หลวงโกวิทอภัยวงศ์
10 พฤศจิกายนพ.ศ. 249021 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491ลาออก (เป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
2021 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 24918 เมษายน พ.ศ. 2491ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ))
21จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))
8 เมษายน พ.ศ. 249125 มิถุนายน พ.ศ. 2492ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 (เลือกตั้งทั่วไป)
2225 มิถุนายน พ.ศ. 249229 พฤศจิกายนพ.ศ. 2494คณะบริหารประเทศชั่วคราวประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่งไปพลางก่อน (รัฐประหารตนเอง)
2329 พฤศจิกายนพ.ศ. 24946 ธันวาคม พ.ศ. 2494มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่
246 ธันวาคม พ.ศ. 249424 มีนาคม พ.ศ. 2495ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 (เลือกตั้งทั่วไป)
2524 มีนาคม พ.ศ. 249521 มีนาคม พ.ศ. 2500สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)
2621 มีนาคม พ.ศ. 250016 กันยายน พ.ศ. 2500รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
คณะทหาร
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
[4]
16 กันยายน พ.ศ. 250021 กันยายน พ.ศ. 25005 วันแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [5]
27นายพจน์ สารสิน21 กันยายน พ.ศ. 25001 มกราคม พ.ศ. 2501ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)
28จอมพล ถนอม กิตติขจร1 มกราคม พ.ศ. 250120 ตุลาคม พ.ศ. 2501ลาออกและรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
คณะปฏิวัติ
นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
20 ตุลาคม พ.ศ. 25019 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [6]
29จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25028 ธันวาคม พ.ศ. 2506นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรม
30จอมพลถนอม กิตติขจร9 ธันวาคม พ.ศ. 25067 มีนาคม พ.ศ. 2512ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 (เลือกตั้งทั่วไป)
317 มีนาคม พ.ศ. 251217 พฤศจิกายนพ.ศ. 2514รัฐประหาร โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร (รัฐประหารตนเอง)
คณะปฏิวัติ
นำโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร
18 พฤศจิกายนพ.ศ. 251417 ธันวาคม พ.ศ. 2515ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [7]
32จอมพล ถนอม กิตติขจร18 ธันวาคม พ.ศ. 251514 ตุลาคม พ.ศ. 2516ลาออก (เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา)
33นายสัญญา ธรรมศักดิ์14 ตุลาคม พ.ศ. 251622 พฤษภาคม พ.ศ. 2517ลาออก (อ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ)
3427 พฤษภาคม พ.ศ. 251715 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (เลือกตั้งทั่วไป)
35หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 251814 มีนาคม พ.ศ. 2518ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบาย
36พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช14 มีนาคม พ.ศ. 251820 เมษายน พ.ศ. 2519ยุบสภา[8] (เลือกตั้งทั่วไป)
37หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช20 เมษายน พ.ศ. 251925 กันยายน พ.ศ. 2519ลาออก (วิกฤตการณ์จอมพล ถนอม กลับประเทศเพื่ออุปสมบท)
3825 กันยายน พ.ศ. 25196 ตุลาคม พ.ศ. 251911 วันรัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
6 ตุลาคม พ.ศ. 25198 ตุลาคม พ.ศ. 25192 วันแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
39นายธานินทร์ กรัยวิเชียร8 ตุลาคม พ.ศ. 251920 ตุลาคม พ.ศ. 2520รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
คณะปฏิวัติ
นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
20 ตุลาคม พ.ศ. 252010 พฤศจิกายนพ.ศ. 25201 เดือนประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
40พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์11 พฤศจิกายนพ.ศ. 252012 พฤษภาคม พ.ศ. 2522ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (เลือกตั้งทั่วไป)
4112 พฤษภาคม พ.ศ. 25223 มีนาคม พ.ศ. 2523ลาออก (วิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย)
42พลเอก เปรม ติณสูลานนท์3 มีนาคม พ.ศ. 252330 เมษายน พ.ศ. 2526ยุบสภา[9] (เลือกตั้งทั่วไป)
4330 เมษายน พ.ศ. 25265 สิงหาคม พ.ศ. 2529ยุบสภา[10] (เลือกตั้งทั่วไป)
445 สิงหาคม พ.ศ. 25294 สิงหาคม พ.ศ. 2531ยุบสภา[11] (เลือกตั้งทั่วไป)
45พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ4 สิงหาคม พ.ศ. 25319 ธันวาคม พ.ศ. 2533ลาออก แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่
469 ธันวาคม พ.ศ. 253323 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534รัฐประหาร นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25341 มีนาคม พ.ศ. 25345 วันประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
47นายอานันท์ ปันยารชุน2 มีนาคม พ.ศ. 25347 เมษายน พ.ศ. 2535ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 (เลือกตั้งทั่วไป)
48พลเอก สุจินดา คราประยูร7 เมษายน พ.ศ. 253524 พฤษภาคม พ.ศ. 2535ลาออก (เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)
นายมีชัย ฤชุพันธุ์24 พฤษภาคม พ.ศ. 253510 มิถุนายน พ.ศ. 2535
49นายอานันท์ ปันยารชุน10 มิถุนายน พ.ศ. 253523 กันยายน พ.ศ. 2535ยุบสภา[12] (เลือกตั้งทั่วไป)
50นายชวน หลีกภัย23 กันยายน พ.ศ. 253513 กรกฎาคม พ.ศ. 2538ยุบสภา[13] (เลือกตั้งทั่วไป)
51นายบรรหาร ศิลปอาชา13 กรกฎาคม พ.ศ. 253825 พฤศจิกายนพ.ศ. 2539ยุบสภา[14] (เลือกตั้งทั่วไป)
52พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ25 พฤศจิกายนพ.ศ. 25399 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540ลาออก (วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
53นายชวน หลีกภัย9 พฤศจิกายน พ.ศ. 254017 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544ยุบสภา[15] (เลือกตั้งทั่วไป)
54พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254411 มีนาคม พ.ศ. 25481461 วันสภาฯ ครบวาระ 4 ปี
5511 มีนาคม พ.ศ. 254819 กันยายน พ.ศ. 2549ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ต่อมาถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเกิด รัฐประหาร โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ระหว่างที่ ครม.รักษาการเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)
นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
19 กันยายน พ.ศ. 25491 ตุลาคม พ.ศ. 254912 วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
56พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์1 ตุลาคม พ.ศ. 254929 มกราคม พ.ศ. 2551486 วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (เลือกตั้งทั่วไป)
57นายสมัคร สุนทรเวช29 มกราคม พ.ศ. 25519 กันยายน พ.ศ. 2551223 วันศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ[16]
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์9 กันยายน พ.ศ. 255118 กันยายน พ.ศ. 25519 วัน
58นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์18 กันยายน พ.ศ. 25512 ธันวาคม พ.ศ. 255175 วันศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน
และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล2 ธันวาคม พ.ศ. 255117 ธันวาคม พ.ศ. 255115 วัน
59นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ17 ธันวาคม พ.ศ. 2551ปัจจุบัน

[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น